วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ (ร.จ.ม./ร.จ.ม.)

๑. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ (ร.จ.ม./ร.จ.ม.)
หลักฐาน ดำเนินการปีละ ๑ ครั้ง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นเกียรติยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.๒๕๓๖
เรื่องเริ่มจาก สบ.ทบ. แจ้งให้ นขต.ทบ. ปฏิบัติในเดือน ต.ค. – พ.ย. โดยกำหนดให้แต่ละหน่วยสรุปส่งเรื่องการขอพระราชทาน ฯ ประจำปีถึง สบ.ทบ. ไม่เกิน ๑๕ ธ.ค.
การปฏิบัติ กกพ.ฯ ออกเรื่องให้ นขต.ฯ, นขต.บก.ฯ และ บก.ฯ จัดทำและส่งบัญชีการเสนอขอพระราชทาน ฯ ประจำปีให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ (ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบ ฯ กำหนด) โดยให้แต่ละหน่วยส่งถึง กกพ.ฯ ภายใน พ.ย. เพื่อรวบรวมสรุปนำส่ง สบ.ทบ.
(เครื่องราช ฯ ส่งภายใน ๑๕ ธ.ค. และ ร.จ.ม./ร.จ.พ. ส่งภายใน ๓๑ ธ.ค.) สำหรับลูกจ้างประจำ
จะขอพระราชทาน ฯ ให้เฉพาะเครื่องราช ฯ
๒. การรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และ ร.จ.ม./ร.จ.พ.
- ดำเนินการปีละ ๑ ครั้ง เช่นเดียวกับการขอพระราชทานเครื่องราช ฯ
- สบ.ทบ. ส่งเรื่องให้ นขต.ทบ. ในเดือน มิ.ย. เพื่อให้แต่ละหน่วยจัดทำหลักฐานในการขอรับเครื่องราช ฯ / เหรียญ ฯ โดยเจ้าหน้าที่เครื่องราช ฯ ของแต่ละหน่วยเมื่อดำเนินการเรื่องเอกสารการรับเรียบร้อยแล้ว จะต้องประสานแผนกบำเหน็จความชอบ สบ.ทบ. ในการกำหนดวัน เวลาที่จะไปขอรับของจากเจ้าหน้าที่ สบ.ทบ.
การปฏิบัติ กกพ.ฯ ออกเรื่องให้ นขต.ฯ, นขต.บก.ฯ แต่ละหน่วยตรวจสอบ แล้วจัดทำบัญชีขอรับเครื่องราช ฯ / เหรียญ ฯ ส่งถึง กกพ.รร.จปร. ภายใน ๒๐ ก.ค. เพื่อสรุปรวบรวม/ ตรวจสอบพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เครื่องราช ฯ ของหน่วย และออกคำสั่ง ฯ นำส่งเอกสารหลักฐาน ฯ ไปขอรับของจาก สบ.ทบ. เพื่อนำมาจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่ได้รับพระราชทาน ฯ ต่อไป
๓. การส่งคืนเครื่องราช ฯ (ไม่ต้องส่งคืนประเภทเหรียญราชอิสริยาภรณ์ เช่น ร.จ.ม./ร.จ.พ.ตามที่ระเบียบ ฯ กำหนด)
การปฏิบัติ ดำเนินการส่งคืนตามระเบียบ ฯ ได้ตลอดทั้งปี โดยให้แต่ละหน่วยรวบรวมเครื่องราช ฯ ของข้าราชการผู้ที่ประสงค์จะขอคืนมาที่ กกพ.ฯ เพื่อรวบรวมนำส่ง สบ.ทบ. โดยเจ้าหน้าที่ สบ.ทบ. จะรับและออกใบตอบรับการส่งคืนเครื่องราช ฯ ดังกล่าว เสร็จแล้ว กกพ.ฯ จะมอบใบตอบรับการส่งคืนให้กับผู้ส่งคืนทุกราย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ฯ (ควรสำเนาไว้ในสมุดประวัติฯ)

การประเมินค่าการปฏิบัติงานข้าราชการและลูกจ้างประจำ

๑. หลักฐาน ดำเนินการตามระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการประเมินค่าการปฏิบัติงานข้าราชการและลูกจ้างประจำ พ.ศ.๒๕๔๕
๑.๑ นขต.ทบ. ดำเนินการส่ง ทบ. (สบ.ทบ.) ปีละ ๒ ครั้ง ตามวงรอบของปีงบประมาณ
- ครั้งที่ ๑ (ห้วงรายงาน ๑ ต.ค. – ๓๑ มี.ค.) ส่ง สบ.ทบ. ภายใน ๑ ก.พ.
- ครั้งที่ ๒ (ห้วงรายงาน ๑ เม.ย. – ๓๐ ก.ย.) ส่ง สบ.ทบ. ภายใน ๑ ส.ค.
๒. การปฏิบัติ กกพ.ฯ ออกเรื่องให้ นขต.ฯ, นขต.บก.ฯ และ บก.ฯ ทำการประเมินค่าการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างประจำทุกคน ยกเว้นนายทหาร ฯ ชั้นยศ พล.ท.ขึ้นไป เสร็จแล้วให้ทุกหน่วยนำผลคะแนนประเมินค่า ฯ ของกำลังพลในสังกัด ลงโปรแกรมมโหรี ฯ ของหน่วย เพื่อบันทึกลงแผ่นดิสก์พร้อมทั้งจัดพิมพ์เป็นเอกสาร ๒ ชุด และสรุปรายงานผลตามที่ สบ. กำหนด โดยให้ส่งผลการประเมินค่า ฯ ดังกล่าว ถึง กกพ.ฯ ภายใน ๑๕ ม.ค. หรือ ๑๕ ก.ค. เพื่อสรุปรวบรวมรายงานผู้บังคับบัญชาและดำเนินการนำส่ง ทบ (สบ.ทบ.) ตามกำหนดเวลาต่อไป

การทดสอบสมรภาพร่างกายกำลังพลประจำปี

๑. หลักฐาน ดำเนินการตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๘๒๓/๒๕๓๐ ลง ๑ ก.ย.๓๐ ปีละ ๒ ครั้ง
๑.๑ ครั้งที่ ๑ ปฏิบัติในเดือน ก.พ. (รวบรวมผลทดสอบ ฯ ส่ง สบ.ทบ. ภายใน ๑๕ มี.ค)
๑.๒ ครั้งที่ ๒ ปฏิบัติในเดือน ส.ค. (รวบรวมผลทดสอบ ฯ ส่ง สบ.ทบ. ภายใน ๑๕ ก.ย.)
๒. การปฏิบัติ
๒.๑ กพศ.กรม นนร.รอ. เสนอแผนการทดสอบ ฯ ให้ กกพ.ฯ ยกร่างออกคำสั่ง ฯ ให้ นขต.ฯ, นขต.บก.ฯ และ บก.ฯ แจ้งกำลังพลปฏิบัติตามกำหนดในข้อ ๓.๑ และแต่ละหน่วยให้การสนับสนุนตามคำสั่ง ฯ จะออกประมาณ ก.ค. และ ม.ค.
๒.๒ เมื่อดำเนินการทดสอบ ฯ เสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง กพศ.ฯ จะต้องเร่งส่งผลทดสอบ ฯ ให้
นขต.ฯ, นขต.บก.ฯ และ บก.ฯ (กกพ.ฯ) รวม ๗ หน่วย เพื่อผลคะแนนทดสอบ ฯ ของทุกคนลงโปรแกรมมโหรี ฯ ของแต่ละหน่วย ก่อนบันทึกข้อมูลผลการทดสอบ ฯ ลงแผ่นดิสก์ พร้อมทั้งให้จัดพิมพ์ผลทดสอบ ฯ ที่ลงโปรแกรม ฯ แล้ว ๒ ชุด เพื่อให้ผู้เข้ารับการทดสอบ ฯ แต่ละคน
ตรวจสอบและลงชื่อรับรองผล ก่อนรวบรวมนำส่ง กกพ.ฯ ตามเวลาที่กำหนด
๒.๓ สำหรับกำลังพลที่ไปเข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่างฯ ใน ทบ.หรือช่วยราชการนอกหน่วย ให้หน่วยต้นสังกัด ประสานติดตามผลคะแนนทดสอบ ฯ เพื่อลงโปรแกรมมโหรี ฯ และส่งผลพร้อมกำลังพลส่วนรวมของหน่วยทุกครั้งที่ทำการทดสอบ ฯ ประจำปี
๒.๔ กกพ.ฯ ตรวจสอบรายละเอียดขั้นสุดท้าย ก่อนสรุปเป็นส่วนรวมเพื่อนำเรียน ฯ และนำส่งผลทำสอบ ฯ ในส่วนของนายทหารสัญญาบัตร ถึง ทบ. (สบ.ทบ.) ตามกำหนดเวลาในข้อ ๒.๑

ทุนการศึกษาของ นนร.

ทุนการศึกษาของ นนร. มี ๒ ประเภท
๑. ทุนประเภทต่อเนื่อง ฯ
๑.๑ การปฏิบัติ เริ่มดำเนินการเมื่อเปิดภาคการศึกษาในแต่ละปี ในเดือน พ.ค. – ก.ค. ซึ่งโดยรวมจะเป็นทุนที่ผู้รับทุน ฯ ได้รับต่อเนื่องมาตั้งแต่เข้าเป็น นทต. จนจบการศึกษาใน รร.เหล่า
รวมทั้งที่มีผู้อุปการะทุนให้มาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง แล้ว กกพ.ฯ ออกคำสั่ง ฯ ให้ นนร. ได้รับทุน ฯ
เป็นรายเดือน
๑.๒ จำนวนเงินทุนต่อปีการศึกษาที่ นนร.ผู้รับทุนจะได้รับในแต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม หรือลดลง ตามสภาวะเศรษฐกิจในปีนั้น ๆ
๒. ทุนประเภทมอบให้ครั้งเดียว มี ๒ ลักษณะ
๒.๑ การปฏิบัติ ให้ทุนในลักษณะที่หน่วยงาน / องค์กรต่าง ๆ แจ้งความประสงค์ขอมอบทุนให้แก่ นนร. ปีละครั้ง จำนวน ๑ – ๕ ทุน (ทุนละประมาณ ๒,๐๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท) ซึ่งจะเป็นทุนที่มอบให้ไม่ต่อเนื่องหรือไม่ระบุเฉพาะตัวผู้รับทุน ฯ
๒.๒ ไม่ระบุ หรือกำหนดวัน เวลาการมอบทุนที่แน่นอน เป็นทุนการศึกษาที่มอบให้แก่ นนร. เป็นครั้งคราวในแต่ละปี โดยมอบทุนให้แล้วก็จบไป

กองทุนเลี้ยงชีพ ฯ ลูกจ้างประจำ (กสจ.)

เป็นกองทุน ฯ ที่ให้ผลประโยชน์แก่ลูกจ้างประจำโดยเฉพาะ ลักษณะเดียวกับ กบข.
๑. การปฏิบัติ ลูกจ้างประจำ สังกัด รร.จปร.
๑.๑ ลูกจ้างประจำ สมัครสมาชิกได้ตลอดทั้งปี ไม่จำกัดห้วงวัน เวลาการสมัคร โดย กกพ.ฯ สรุปรวบรวมนำส่งการสมัครสมาชิกให้กองทุน ฯ เดือนละ ๑ ครั้ง ส่งเรื่องไม่เกินวันที่
๑๕ ของเดือน
๑.๒ ผกง.รร.จปร. หักเงินได้รายเดือนของลูกจ้างประจำผู้สมัครเป็นสมาชิก ๓ %
เพื่อรวบรวมนำส่งกองทุน ฯ ทุกเดือน
๑.๓ สมาชิก ฯ สามารถดำเนินการถอนเงินกองทุน ฯ คืนได้ทุกกรณี ไม่ว่าลาออก, ถูกไล่ออก, เกษียณอายุราชการ หรือตาย ปฏิบัติได้ตลอดทั้งปี


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.gpef.or.th/